วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559





ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

     ในวันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้

         









กลุ่มที่ 1 ด้านร่างกาย
     

กีเซลล์ ได้ศึกษาความสามารถของเด็กตามแบบธรรมชาติ โดยสังเกตพฤติกรรมของเด็กตั้งแต่
แรกเกิดจนเติบโตเต็มที่ การสังเกตมีทั้งสังเกตด้วยตาและถ่ายภาพยนตร์เอาไว้ศึกษาโดยละเอียด
ภายหลังผลการศึกษา กีเซลล์ สรุปว่า ความสามารถของเด็กมีเป็นระยะและขั้นตอน แต่ละช่วงอายุมี
ความหมายและมีความสำคัญแก่ชีวิต เพราะเป็นรากฐานของบุคคลเมื่อเป็นผู้ใหญ่พฤติกรรมของบุคคล
จะมีอิทธิพลมาจากสภาพความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อ ต่อมกระดูก และประสาทต่าง ๆ
สิ่งแวดล้อมเป็นเพียงส่วนประกอบของการเปลี่ยนแปลง และกีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน
ดังนี้



1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development)
          เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความ สัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
         
         2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive development)
           เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ
ประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่ เป็นลูกบาศก์ การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรม ทางด้านการเคลื่อนไหว
          
       3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development) 
          ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของ ร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น
          
      4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development)
          เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ
แวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการ
เคลื่อนไหวประกอบกันในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก กีเซลล์ พบว่าก่อนที่คนเรา จะทำ อะไรง่าย ๆเช่น หยิบอาหารใส่ปากได้นั้นมีการเรียนรู้หลายขั้นตอน ขั้นแรกทารกจะใช้มือตะปบ
ขั้นต่อมาจับของด้วยมือ 4 นิ้วติดกันกับฝ่ามือโดยเริ่มใช้ฝ่ามือตอนใกล้ ๆสันมือต่อมาจะเลื่อนไปใช้ใจกลาง มือครั้นแล้วหัวแม่มือจึงค่อยเลื่อนมาช่วยจับ ขั้นสุดท้ายคือการหยิบของด้วยหัวแม่มือกับปลายนิ้วยิ่งไป กว่านั้นกีเซลล์และคนอื่นๆ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการควบคุมการปฏิบัติการแห่งกล้ามเนื้อของคนเรามี พัฒนาการเริ่มจากศีรษะจรดเท้าเรียกว่า Cephalo Caudal Sequence คือหันศีรษะได้ก่อนชันคอแล้วจึงควํ่า คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน และวิ่งตามลำดับการควบคุมปฏิบัติการกล้ามเนื้อ ยังมีพัฒนาการเริ่มจากใกล้ลำตัว ก่อนเรียกว่า Proximodistal Sequence เช่น ที่แขนขาทารกย่อมบังคับการเคลื่อนไหวแกว่งแขนขาได้ก่อน มือและเท้า เด็กใช้แขนคล่องก่อนมือและใช้มือคล่องก่อนนิ้วดังนั้น เด็กเล็ก ๆเมื่อต้องการจับอะไรก็ผวาไป ทั้งตัว ต่อมาจึงยื่นออกไปเฉพาะแขนแล้วจึงใช้มือและนิ้วมือดังกล่าว ถ้าจะให้เด็กเล็ก ๆเขียนหนังสือมักจะ ได้ตัวโตเพราะกล้ามเนื้อมือยังใช้ไม่คล่องแคล่วได้แต่วาดแขนออกไปกว้าง ๆต่อเมื่อการบังคับกล้ามเนื้อ บรรลุวุฒิภาวะแล้วจึงสามารถเขียนตัวเล็ก ๆได้ เพราะสามารถบังคับกล้ามเนื้อมือและนิ้ว
แนวคิดเด็กจะมีความพร้อมที่จะเรียนต่อเมื่อเด็กพร้อม ซึ่งผู้ใหญ่ไม่สามารถที่จะเร่งเด็กให้พร้อมได้ ความพร้อมในการมาโรงเรียนขึ้นกับวุฒิภาวะซึ่งถือเป็นสภาวะที่เด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะสามารถบรรลุ งานนั้นได้ในช่วงวัยนั้น

.............................................................................................................................


กลุ่มที่ 2 ด้านสติปัญญา 

ธอร์นไดค์ได้สรุปว่า  การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้ก็คือการที่มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก  มีใจความที่สำคัญว่า  เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้าอินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธีจนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้านั้นๆมีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นโดยมีหลักเกณฑ์และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้  คือ
1.มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
2.อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3.ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป
            4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป  จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอากิริยาตอบสนองที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นมากระทบอีก

...........................................................................................................................


กลุ่มที่ 3 ด้านความคิดสร้างสรรค์ (อารมณ์)
    

กิลฟอร์ด

ความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วย สามมิติ
            มิติที่ 1  ด้านปฏิบัติการ
            มิติที่ 2  ด้านผลผลิต
            มิติที่ 3  ด้านเนื้อหา
มิติที่ 1  ด้านเนื้อหา แบ่งเป็น 5 ชนิด
            1.เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ
            2.เนื้อหาที่เป็นเสียง
            3.เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์
            4.เนื้อหาที่เป็นภาษา
            5.เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม
มิติที่ 2 ด้านปฏิบัติการ กระบวนการคิดต่างๆ
ที่สร้างขึ้นมาซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด
1.การรับรู้และการเข้าใจ
2.การจำ
3.การคิดแบบอเนกมัย เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและแสดงออกในหลายๆแบบหลายๆวิธี
4.การคิดแบบเอกมัย เป็นความสามารถในการสรุปข้อมูลที่ดีและ ถูกต้องที่สุดจากข้อมูลหลากหลายที่มีอยู่
 5.การประเมินค่า เป็นความสามารถทางปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้    จำได้ หรือกระบวนการคิดว่ามีคุณค่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม    หรือมีความเพียงพอหรือไม่ อย่างไร
มิติที่ 3 ด้านผลผลิต ความสามารถที่ผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและ
ด้านปฏิบัติเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต   เมื่อสมองรับรู้วัตถุ/ข้อมูล

ทอแรนซ์ 
     กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไป แล้วจึงรวบรวมความคิดหรือตั้งเป็นสมมติฐานทำการทสอบสมมติฐาน และเผยแพร่สิ่งที่ได้จากการทดสอบสมมติฐานนั้น ซึ่งแบ่งเป็นขั้น ๆ ได้ดังนี้

   
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) 
ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
   
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding)
 ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
   
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) 
ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
  
 ขั้นที่ 4 การค้นพบปัญหา ( Solution – Finding) 
ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
   
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) 
ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent

กลุ่มที่ 4 ด้านสังคม
อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา



พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก 
มีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำ คัญและพร้อมเรียนรู้ 
สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อม 
รอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง 
ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดี 
ไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคน 
มองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นใน 
ตนเอง

  •  
    ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ
(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ
และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 3 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative
versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี



 แบนดูรา
      ได้กล่าวถึงตัวกำหนดพฤติกรรมว่า มี 2 ประการ คือ ตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมซ้ำ ๆ มนุษย์จะคาดการณ์ไว้ว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาและตัวกำหนดพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง คือ  ตัวกำหนดที่เป็นผล ซึ่งได้แก่ผลของการกระทำมนุษย์จะเลือกกระทำพฤติกรรมที่ ได้รับผลทางบวก และจะหลีกการกระทำพฤติกรรมที่จะได้รับผลทางลบ
             วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ แบนลูราได้กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 วิธี คือ การเรียนจากผลของการกระทำ และวิธีการเรียนรู้จากการเลียนแบบ โดยที่การเรียนรู้จากผลของการกระทำเป็นการ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือให้ข้อมูล จูงใจ และ เสริมแรง ส่วนการเรียนรู้จากการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบกระทำ พฤติกรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัย กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตเป็นผลสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ กระบวนการใส่ใจกระบวนการเก็บจำ กระบวนการทางกาย และ กระบวนการจูงใจ

  
            


วันพฤหัสบดีที่  4  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

ความรู้ที่ได้รับ
     
    




 ในวันนี้ครูให้นักศึกษาดูคลิปวิดิโอ Stop teen mom เพื่อเป็นการปลุกระดมความคิดและความรู้สึกในตัวเรา  จากนั้นก็เริ่มเข้ากิจกรรมยืดเส้นยืดสาย แต่ก่อนอื่นต้องบริหารสมองทั้ง 2 ซีกก่อน ดังภาพต่อไปนี้





จากนั้นก็เริ่มกิจกรรมได้






     นี่คือท่าเต้นของแต่ละกลุ่ม ที่ช่วยกันคิดท่าทางต่างๆภายในกลุ่ม




และนี่คือคลิปวิดิโอภาพการทำกิจกรรมภายในคาบเรียน  เพื่อนๆให้ความร่วมมือกัน
อย่างสนุกสนานมากๆเลยค่ะ


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ในการพาเด็กทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะได้
เพราะทุกๆท่วงท่าที่ครูให้พวกเราออกไปโชว์ให้เพื่อนๆดูนั้นล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องนำไปใช้สอนเด็กได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง - มีความสุข สนุกสนานมากๆในการทำกิจกรรมในวันนี้เพราะว่าได้คิดท่าเต้นที่แปลกใหม่จากกลุ่มอื่น โดยส่วนตัวชอบการเต้นอยู่แล้ว ทำให้มีสมาธิและแรงบันดาลใจมากขึ้น

ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆมีความขยันในการซ้อมท่าท่างต่างๆ มีความสามัคคีกันในกลุ่ม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดี

ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีความกระตือรือร้นในการมาสอนสูงมาก เข้าสอนตรงเวลาและเมื่อจบบทเรียนแล้วจะไม่กักเด็กเอาไว้ จะปล่อยเด็กทันทีเมื่อจบบทเรียน ซึ่งเป็นผลดีกับนักศึกษษและตัวอาจารย์มากๆค่ะ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น